เป้าหมายของการจัดการความรู้

         การนําระบบการจัดการความรู้มาใช้ในองค์กรนั้น องค์กรต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการนําระบบการจัดการความรู้มาใช้และต้องสอดคล้องกับเป้าหมายโดยรวมขององค์กร ระบบการจัดการความรู้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ และจัดการกับความรู้เดิม เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์กรและบรรลุเป้าหมายรวมที่วางไว้ ความรู้ขององค์กรสามารถบริหารจัดการได้ โดยการควบคุมจัดการกระบวนการต่าง ๆ เช่น กระบวนการแลกเปลี่ยนการจัดเก็บ การสร้างความรู้ใหม่ การสืบค้น การนําไปใช้เป็นต้น รวมทั้งการสร้างสภาพแวดล้อม ภายในองค์กร (สมชาย นําประเสริฐชัย และพิสิษฐ์ กาญจนสัณห์เพชร. 2546)

         วิจารณ์ พานิช (2547 ) ได้กล่าวถึงเป้าหมายของการจัดการความรู้ คือการใช้ประโยชน์จากความรู้มาเพิ่มประสิ ทธิภาพและประสิ ทธิผลในการดําเนินงานขององค์กร ทําให้องค์กร สามารถรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน การจัดการความรู้มีเป้าหมาย 3 ประการ หลัก ๆ ดังนี้คือ
           1. เพื่อพัฒนางาน เป็นการปรับปรุงกระบวนการดําเนินงาน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่และบริการใหม่ ๆ ให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น สามารถวัดได้เป็นตัวเลขชัดเจนในเชิงปริมาณ หรือวัดได้ด้วยตัวชี้วัดเชิงคุณภาพที่รับรู้หรือสัมผัสได้
           2. เพื่อพัฒนาคน เป็นการพัฒนาคนผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับให้เป็นแรงงานความรู้ (Knowledge worker) ซึ่งเป็ นสินทรัพย์ทางปัญญาหรือทุนทางปัญญา โดยอาศัยการจัดการความรู้ที่เกิดจากการทํางาน ทําให้ผู้ปฏิบัติมีความรู้ มีประสบการณ์ มีความชํานาญ มีทักษะ และสามารถนําองค์ความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายมาใช้งานใหม่อีกได้
          3. เพื่อพัฒนาฐานความรู้ขององค์กร เป็นการเพิ่มพูนทุนความรู้ หรือทุนทางปัญญาขององค์กร ซึ่งจะช่วยทําให้องค์กรมีศักยภาพในการต่อสู้กบความยากลําบากหรืออุปสรรค มีวิธีการทํางานดีขึ้น(Best practice) และสามารถที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
                                   
     อกจากนี้การจัดการความรู้ส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปที่งานหลักหรือภารกิจหลักขององค์กร การจัดการความรู้จะก่อผลยิ่งใหญ่ได้ต้องกำหนดเป้าหมายของการดําเนินการไว้ที่ภารกิจที่สําคัญที่สุด เมื่อดําเนินการสําเร็จแล้วจะก่อผลดีที่ยิงใหญ่ ต่อองค์กร ซึ่งเป้าหมายของการนําวิธีการจัดการความรู้มาใช้ในองค์กรนั้น มีเป้าหมาย 6 ประการ (วิจารณ์ พานิช. 2546 ) ดังนี้คือ
       1. เพื่อเพิ่มคุณภาพ และปริมาณของผลงานและการสร้างสรรค์ขององค์กร ซึ่งเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ นําไปสู่การมีชื่อเสียงและเกียรติคุณ เป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการอย่างแท้จริง และนําไปสู่ความเป็ นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นทุนทางปัญญาขององค์กร สําหรับเผชิญกับความผันผวนไม่แน่นอนในอนาคตได้อย่างมั่นใจ
       2. ช่วยให้บุคลากรแต่ละคนมีผลงานดีขึ้น ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มขึ้นในระยะยาว และที่สําคัญยิ่ง คือ การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือให้บุคลากรมีความสุข สามารถได้รับประโยชน์จากการทํางานในลักษณะที่ผลประโยชน์คือความสุข ไม่ใช้เพียงผลประโยชน์เชิงวัตถุเท่านั้น
      3. สร้างบรรยากาศการทํางานที่มีความกระตือรือร้น เกิดความสุขจากการได้แสดงความคิดริเริ่มใหม่ๆ ในหน้าที่ของตน จากการมีปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อนร่วมงานทั้งในหน่วยงานของตนและหน่วยงานอื่น ๆ ทําให้การทํางานเป็นเรื่องที่ให้ความสุขความพึงพอใจ รวมทั้งเกิดความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมสร้างสรรค์หน่วยงานหรือองค์กรของตน
       4. เป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรขององค์กร ให้เป็นผู้ที่มีความเป็นพลวัต มีความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัว ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหมายถึงการเป็ นบุคคลเรียนรู้นันเองยอมสร้างผลประโยชน์สองต่อ คือ เกิดประโยชน์ต่อทั้งคนและงาน
       5. เป็นเครื่องมือสั่งสมความรู้และทุนปัญญาขององค์กร สําหรับใช้พัฒนางานและเผชิญกับความไม่แน่นอนในอนาคต
       6. เป้าหมายของการจัดการความรู้ในระยะยาว 5 – 10 ปี จะมีผลทําให้เกิดการเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กร เปลี่ยนกระบวนทัศน์ของคน เปลี่ยนพฤติกรรมของคน พฤติกรรมที่สําคัญที่สุด ทรงพลังที่สุดคือ พฤติกรรมร่วมคิดร่วมทํา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Blogger Templates