KM Focus Areas

การกำหนดขอบเขต KM (KM  Focus  Areas)



 1. ขอบเขต KM (KM Focus Areas) เป็นหัวเรื่องกว้างๆ ของความรู้ที่จำเป็นและสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนบริหารราชการแผ่นดินซึ่งต้องการจะนำมาใช้กำหนดเป้าหมาย KM (Desired State)
 2. ในการกำหนดขอบเขต KM   ควรกำหนดกรอบตามองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อกระบวนงาน (Work Process) ในข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) ที่ได้นำเสนอสำนักงาน กพร. ไว้ในปี 2548  ก่อนเป็นลำดับแรก หรือ อาจกำหนดขอบเขต KM ตามองค์ความรู้ที่จำเป็นต้องมีในองค์กร เพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุตามประเด็นยุทธศาสตร์อื่นๆ ขององค์กร
 3. แนวทางการกำหนดขอบเขต KM (KM Focus Areas) และเป้าหมาย KM (Desired State)


            องค์กรสามารถใช้แนวทางการกำหนดขอบเขตและเป้าหมาย KM  เพื่อจะช่วยรวบรวมขอบเขต  KM  และนำไปกำหนดเป้าหมาย KM และแผนการจัดการความรู้ ดังนี้


           - แนวทางที่ 1 เป็นความรู้ที่จำเป็นสนับสนุนพันธกิจ/ วิสัยทัศน์/ ประเด็นยุทธศาสตร์ ในระดับของหน่วยงานตนเอง


           - หรือแนวทางที่ 2 เป็นความรู้ที่สำคัญต่อองค์กร
           - หรือแนวทางที่ เป็นปัญหาที่ประสบอยู่ และสามารถนำ KM มาช่วยได้
           - หรือ เป็นแนวทางอื่นนอกเหนือจากแนวทางที่ 1, 2, 3 ก็ได้ ที่หน่วยงานเห็นว่าเหมาะสม     
4. ให้รวบรวมแนวคิดการกำหนดขอบเขต KM จากข้อ 3. แล้วกรอกขอบเขต KM  ที่สามารถรวบรวมได้ทั้งหมดลงในแบบฟอร์ม 1 โดยทุกขอบเขต KM ที่กำหนดต้องสนับสนุนกับประเด็นยุทธศาสตร์ของระดับหน่วยงานตนเอง  และประเด็นยุทธศาสตร์นั้นควรจะต้องได้ดำเนินการมาระดับหนึ่งแล้ว (ถ้ามี)

           เมื่อกรอกแบบฟอร์มที่ 1 ครบถ้วนแล้ว ให้ทำการคัดเลือกขอบเขต KM ตามแบบฟอร์ม 2 เพื่อนำไปกำหนดเป้าหมาย KM ต่อไป
           5. แนวทางการตัดสินใจเลือกขอบเขต  KM  -ให้องค์กรพิจารณาเกณฑ์การคัดเลือกขอบเขต  KM  ตามที่ให้ไว้เป็นแนวทาง  เพื่อใช้กรอกลงในแบบฟอร์ม 2  พร้อมให้คะแนนตามเกณฑ์ที่องค์กรต้องการ คือ
               - สอดคล้องกับทิศทางและประเด็นยุทธศาสตร์ในระดับของหน่วยงานตนเอง
               - ทำให้เกิดการปรับปรุงที่เห็นได้ชัดเจน (เป็นรูปธรรม)
               - มีโอกาสทำได้สำเร็จสูง (โดยพิจารณาจากความพร้อมด้านคน  งบประมาณ เทคโนโลยี  วัฒนธรรมองค์กร  ระยะเวลาดำเนินงาน ฯลฯ )
               - เป็นเรื่องที่ต้องทำ  คนส่วนใหญ่ในองค์กรต้องการ
               - ผู้บริหารให้การสนับสนุน
               - เป็นความรู้ที่ต้องจัดการอย่างเร่งด่วน
              - อื่นๆ สามารถเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมขององค์กร


           6. ผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กร  จะต้องมีส่วนร่วมในการกำหนด ขอบเขต KM  (KM Focus Area)  และ  เป้าหมาย  KM (Desired State)   เพื่อมั่นใจว่าสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กรอย่างถูกต้องและเหมาะสม   รวมถึงความมุ่งมั่นที่จะบูรณาการการจัดการความรู้ให้เกิดขึ้นในการปฏิบัติราชการขององค์กร ด้วยการสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นในทุกด้าน
           7.  ให้กำหนดรายชื่อผู้มีส่วนร่วมกับผู้บริหารระดับสูงในการตัดสินใจเลือกขอบเขต  KM (KM Focus Area)  ตามแบบฟอร์ม 2  และเป้าหมาย KM (Desired State) ตามแบบฟอร์ม 3  โดยให้ระบุถึงชื่อ-นามสกุล, ตำแหน่งงาน และหน่วยงานที่สังกัดอยู่ตามผังองค์กรปัจจุบัน ของผู้มีส่วนร่วมทุกท่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Blogger Templates