ความหมายของการจัดการความรู้


        วิจารณ์ พานิช (2547) ได้ให้ความหมายของคำว่าการจัดการความรู้ไว้ว่า “การจัดการความรู้ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้”

        ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ (2552) ได้สรุปความหมายของการจัดการความรู้ไว้ว่า “การจัดการความรู้ คือ กระบวนการในการสร้าง ประมวล เผยแพร่ และใช้ความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงาน”

        สุจิตรา ธนานันท์ (2552) ได้สรุปความหมายของการจัดการความรู้ไว้ “การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการในการจัดการสภาพแวดล้อม บรรยากาศ หรืออุปกรณ์ เช่น เทคโนโลยี ที่มีส่วนสนับสนุนหรือเอื้อให้คนในองค์การมีการสร้าง แลกเปลี่ยน แบ่งปัน กู้กลับคืน และใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีคุณค่าต่อการสร้างสรรค์ และพัฒนาทั้งทางด้านของตัวบุคคลและองค์การให้มีความสามารถที่เป็นประโยชน์ และพร้อมที่จะปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

        บูรชัย ศิริมหาสาคร (2550) ได้ให้นิยามความหมายของการจัดการความรู้ไว้ว่า “การจัดการความรู้ คือ การบริหารจัดการที่ส่งเสริมให้คนในองค์กร ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อต่อยอดความรู้ที่แต่ละคนมีอยู่ให้สมบูรณ์ แล้วนำไปใช้สร้างนวัตกรรมในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน”

        ราวุฒิ พันธุชงค์ ได้ให้ความหมายของคำว่าการจัดการความรู้ “คำว่าการจัดการความรู้หรือ (Knowledge Management) นั้น ถ้าจะให้เข้าใจให้ได้ดีและไม่เกิดความสับสน เราจะต้องแยกคำสองคำนี้ออกจากกันก่อน คือคำว่า Knowledge และคำว่า Manage คำแรก Knowledge คือความรู้ที่อยู่รอบตัวเราทั้งหมดทั้งนี้รวมถึง Tacit knowledge หรือความรู้ที่ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน ยากจะถ่ายทอดออกมาเป็นข้อความหรือตัวหนังสือหรือสื่อต่างๆ เป็นความรู้ที่อยู่กับตัวบุคคล เป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล และ Explicit knowledge คือความรู้ที่มีกฎเกณฑ์ สามารถเขียนหรือใช้สื่อเขียนแทนได้ สามารถเรียนรู้ได้ สอนงานกันได้ เป็นต้น อีกคำหนึ่งคือคำว่า Manage คือการจัดการ เมื่อนำคำสองคำนี้มีผสมกันและแปลความหมาย จะหมายถึง เราจะทำอย่างไร (How to) ที่จะเอาความรู้ดังกล่าวข้างต้นและการสร้างองค์ความรู้ใหม่มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวผ่านกระบวนการจัดการ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์การ และหรือต่อคนในองค์การ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Blogger Templates